[#FuturePossible]: การทำธุรกิจในอวกาศดูเหมือนจะเริ่มเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นความเสี่ยงที่จะเกิดอาชญากรรมบนอวกาศจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องไกลตัว
ในปัจจุบันเรามีอย่างน้อย 3 ผู้เล่นเอกชนยักษ์ใหญ่ ได้แก่ Virgin Galactic, Blue Origin และ Space X แสดงความสนใจและวางแผนการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง การเปิดโอกาสให้มีการซื้อขายตั๋วยานอวกาศโดยบริษัทเอกชนนี้อาจเปลี่ยนวิธีการคัดเลือกผู้โดยสารให้แตกต่างไปจากในปัจจุบัน ไม่แน่ว่าจำนวนเงินที่ยอมจ่าย อาจเป็นสิ่งสำคัญกว่ามาตรฐานความปลอดภัยในการคัดกรองสมาชิกผู้เข้าร่วมเดินทาง ดังนั้นความเสี่ยงที่จะเกิดอาชญากรรมบนอวกาศจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องไกลตัว คำถามคือ หากมีเหตุร้ายดังกล่าวเกิดขึ้นจริง เรามีกฎ (หมาย) ใดบ้างที่สามารถใช้ในการจัดการอาชญากร แล้วคดีความเหนือขอบเขตอำนาจรัฐบนโลกต้องไปขึ้นศาลที่ไหน เพื่อเป็นการหาคำตอบให้กับปัญหาดังกล่าว เราจะขอแบ่งเหตุการณ์ขึ้นเป็น 3 กรณีหลักที่เป็นไปได้
1. เมื่ออาชญากรรมเกิดขึ้นในยานอวกาศ
บทบัญญัติข้อที่ 8 ของสนธิสัญญาว่าด้วยหลักการบริหารกิจการรัฐในการสำรวจและใช้พื้นที่นอกโลกรวมทั้งดวงจันทร์และเทหวัตถุอื่น ๆ บนอวกาศที่มี 91 ประเทศทำการตกลงร่วมกันระบุว่า “วัตถุใดใดบนอวกาศที่มาจากรัฐผู้ลงนามภายใต้สนธิสัญญา ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐดังกล่าว และ รัฐดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจทางกฎหมายในการควบคุม กำหนด และพิพากษา วัตถุหรือบุคลากรใดใดที่อยู่บนวัตถุนั้นทั้งในขอบเขตบนพื้นที่อวกาศและในขอบเขตบนเทหวัตถุอื่น ๆ” ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในยานอวกาศของประเทศ ก. จะถูกตัดสินโดยกฎหมายของประเทศ ก. แต่เพียงผู้เดียว พูดง่าย ๆ หลักการนี้มีความคล้ายคลึงกับหลักกฎหมายการบินพลเรือนที่ให้อำนาจการตัดสินเกิดขึ้นภายใต้กฎหมายของประเทศที่สายการบินขึ้นทะเบียนอยู่
2. เมื่ออาชญกรรมเกิดขึ้นบนสถานีอวกาศนานาชาติ
สถานีอวกาศเป็นพื้นที่ที่มีองค์การระหว่างประเทศ และตัวแทนรัฐหลายองค์การ เช่น NASA (จากประเทศสหรัฐอเมริกา), Roscosmos (จากประเทศรัซเซีย), JAXA (จากประเทศญี่ปุ่น), ESA (จากสหภาพยุโรป), and CSA (จากประเทศแคนนาดา) ใช้งานร่วมกัน ทำให้อาจเกิดความสับสนในอำนาจการตัดสินใจ แต่ทั้งนี้บทบัญญัติข้อที่ 5 ของข้อตกลงทางกฎหมายที่มี 15 ประเทศลงนามร่วมกันในปี พ.ศ. 2541 ได้ระบุว่า “รัฐภาคีแต่ละรัฐจะเป็นผู้ถือสิทธิ์และขอบเขตของอำนาจในการบริหารจัดการวัตถุ องค์ประกอบ และบุคลากรที่ขึ้นทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของรัฐนั้นในสถานีอวกาศ” จึงอาจกล่าวได้ว่าหากมีอาชญากรรมเกิดขึ้นบนสถานีอวกาศในบริเวณที่รัฐ ก. เป็นผู้ครอบครอง ผู้กระทำผิดและความเสียหายจะถูกประเมินภายใต้กฎหมายของรัฐ ก. แม้ว่าผู้กระทำผิดจะใช่ หรือ ไม่ใช่ผู้ถือสัญชาติของรัฐ ก. ก็ตาม ซึ่งรูปแบบการให้อำนาจรัฐนี้ค่อนข้างคล้ายคลึงกับกรณีของข้อ 1
3. เมื่ออาชญากรรมเกิดขึ้นบนดาวดวงอื่นหรือในพื้นที่ของจักรวาลที่ไม่ได้เป็นสิ่งก่อนสร้างของมนุษย์
บทบัญญัติข้อที่ 2 ของสนธิสัญญาเดียวกันด้านการสำรวจอวกาศฯ ที่ได้พูดถึงในกรณีที่ 1 ข้างต้น ระบุว่า “พื้นที่นอกโลกรวมทั้งดวงจันทร์และเทหวัตถุอื่น ๆ บนอวกาศไม่อยู่ใต้อาณัติของชาติใดชาติหนึ่งเพื่อการถือครองหรือวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ตาม” หมายความว่าไม่มีผู้ใดหรือรัฐใดมีอำนาจอธิปไตยบนผืนจักรวาลและพื้นที่บนดวงดาวต่าง ๆ ได้ ดังนั้นหากในอนาคตมีกรณีที่นักบินอวกาศจากประเทศ ก. ทำร้ายนักบินอวกาศจากประเทศ ข. บนพื้นดาว ค. อันเป็นบริเวณที่อยู่นอกยานอวกาศและขอบเขตการควบคุมของรัฐบนโลก ช่องว่างทางกฎหมายทั้งตัวกฎหมายที่ใช้ในการตัดสินและผู้ที่สามารถตัดสินคดีจะเกิดขึ้น ผลที่ตามมาคือคดีอาจจะต้องพึ่งพิงคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศซึ่งหากจำเลยไม่สามารถปรากฏตัวต่อศาลได้ ด้วยข้ออ้างด้านระยะทางหรือความไม่สะดวกอื่น ๆ เป็นไปได้ว่าคดีความอาจไม่จบสิ้นหรือคดีอาจสิ้นอายุความก่อน ความท้าทายนี้ดูเหมือนจะเป็นข้อกังวลที่ทุกฝ่ายต้องบรรลุข้อตกลงให้ชัดเจนก่อนการก้าวไปสู่ยุคการทำอวกาศเพื่อธุรกิจอย่างที่เราวาดฝันไว้
ในมุมหนึ่งการเปิดเสรีธุรกิจทางอวกาศจะช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ ที่ทำให้เกิดความเท่าเทียมในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจักรวาลแต่ในอีกมุมก็อาจทำให้เกิดความซับซ้อนต่อการบริหารจัดการในมิติที่ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน หากมีเหตุการณ์อุบัติเหตุหรืออุบัติภัยเกิดขึ้น กฎหมายที่มีอยู่ไม่น่าเพียงพอต่อการเอื้อให้เกิดการจัดการใด ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- คดีการก่ออาชญากรรมในอวกาศ อาจใช้ระยะเวลาในการพิพากษายาวนานเกินกว่าอายุขัยของการพิจารณาคดีในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับระหว่างประเทศหลายฝ่าย
- ข้อกฎหมายที่ไม่ครอบคลุมทุกประเทศ และทุกมิติอาจเป็นตัวการยืดเวลาการเปิดเสรีธุรกิจทางอวกาศและการท่องเที่ยวในอวกาศ
อ้างอิงข้อมูลจาก:
- https://theconversation.com/space-tourism-20-years-in-the-making-is-finally-ready-for-launch-159606
- https://2009-2017.state.gov/t/isn/5181.htm
- www.cntraveler.com/story/what-happens-when-a-law-is-broken-on-a-plane/amp
- www.slate.com/technology/2019/08/space-crime-legal-system-international-space-station.amp
- https://people.howstuffworks.com/murdered-in-space.htm
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com หรือติดตามที่ https://www.blockdit.com/futuretaleslab
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #Space #Crime #CrimeSpace #อาชญากรรม #อาชญากรรมบนอวกาศ #อวกาศ #MQDC
Space Crime Could Soon Raise Challenges
Virgin Galactic, Blue Origin, and SpaceX have already shown interest in commercial space flights. When flights aren’t regulated by states, the criteria to select travelers might shift. Financial factors could rule out thorough background checks. If crimes are committed, who’ll take charge?
1. Crimes on spacecraft
The Outer Space Treaty signed by 91 countries stipulates that a state party that registers an object launched into outer space carried shall retain jurisdiction and control over it and any personnel thereof in outer space or on a celestial body. Therefore, a crime that is committed in the spacecraft owned by the Z state party, will be judged under Z state law, regardless of the member nationality. Simply speaking, this principle is the same as aviation law in which the airline’s country of registration determines the state authority to deal with criminals and victims.
2. Crimes in international space stations
The International Space Station is an intergovernmental entity that is shared by NASA (United States), Roscosmos (Russia), JAXA (Japan), ESA (Europe), and CSA (Canada). It seems to be confusing when it comes to the exercise of power due to the multiple-party involvement. Yet, there is in fact a legal agreement drawn and signed by 15 countries in 1998 helps clarify a jurisdiction issue. According to the article 5, “each partner shall retain jurisdiction and control over the elements it registers and over the personnel in or the Space Station who are its nationals.” Hence, no matter what nationality the victim and/or criminals have, the place of crime decides who judges. Location is the only thing that matters as with spacecraft.
3. Crimes on planets or space objects
Article 2 of the Outer Space Treaty addresses that “outer space, including the moon and other celestial bodies, is not subjected to national appropriation by claim of sovereignty, by means of use or occupation, or by any other means.” It points out that no nation or individuals can privately own and govern any land on different planets and the area in-between. Supposedly, an astronaut of country A assaults an astronaut of country B on the planet C (outside the world and off-spacecraft), the problem will not only be about who is a judge, but also which law is used. The dispute might need to be ruled by the international court, where the two parties are asked to present when they return to the earth. But the resolution is unlikely to be timely if one party decides to play a waiting game. This poses a great challenge for all mankind to think ahead of time before space business actually happens.
The openness or the privatization of space leads to many new opportunities. On the one hand, it could let anyone use the universe. On the other hand, it brings complexity to outer space. An incident could occur without a clear legal mechanism to address.
Implications for the Future:
- Crimes committed in outer space may take too long to be settled due to conflicts of interest and expire before the criminals get their punishment.
- The indetermination of legal framework could delay space privatization and space tourism.
Reference:
- https://theconversation.com/space-tourism-20-years-in-the-making-is-finally-ready-for-launch-159606
- https://2009-2017.state.gov/t/isn/5181.htm
- www.cntraveler.com/story/what-happens-when-a-law-is-broken-on-a-plane/amp
- www.slate.com/technology/2019/08/space-crime-legal-system-international-space-station.amp